วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

                                                             


                                                          

                    สะพานข้ามแม่น้ำแคว

                  



สะพานข้ามแม่น้ำแคว
Bridge on the River Kwai    สะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายมรณะ อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และจากการสร้างภาพยนต์หลายเรึ่อง หนังสือหลายเล่ม จึงทำให้สถานที่แห่งนี้ได้เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก โดยมีกองทัพญี่ปุ่นเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ มีการเกณฑ์เชลยศึกจากหลายแหล่งด้วยกันได้แก่ ทหารอังกฤษ ทหารอเมริกา ทหารออสเตรีย ทหารฮอลแลนด์ และทหารนิวซีแลนด์ ประมาณ 61.700 คน และกรรมกรชาวจีน ญวน มลายู ไทย พม่า และอินเดีย เป็นจำนวนมาก ซึ่งสะพานเหล่านี้เป็นสะพานเหล็กสีดำที่ได้นำมาจากเกาะชวาซึ่ง ทางรถไฟสายมรณะ ระหว่างไทย-พม่า ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เส้นผ่านไปสู่ประเทศพม่า การสร้างเต็มไปด้วยความลำบาก โรคภัย และการขาดแขดอาหาร ที่ทำให้เหล่าเชลยศึกหลายคนต้องเสียชีวิต หลายต่อหลายครั้งที่มีการซ่อมแซม เนื่องจากการทิ้งระเบิดนับรัอยฯลูก หลายพันครั้งที่สะพานแห่งนี้ ได้มีการซ่อมแซมทางรถไฟครั้งใหญ่หลังจากสงครามสงบลง เสันทางสายนี้ถือว่าเป็นความทรงจำอันน่าเศร้าใจ และรำลึกถึง ทางรถไฟสายมรณะยังคงเปิดใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน จากสถานนีกาญจนบุรี ถึง สถานนีน้ำตก




ประวัติความเป็นมา เส้นทางรถไฟสายมรณะ
The Death Railway    ใน ค.ศ. 1943 ทหารเชลยศึกนับพันนาย และแรงงานชาวเอเชียร่วมแรงสร้าง ทางรถไฟสายมรณะ สายนี้ภายใต้การควบคุมของจักรพรรดิ์ญี่ปุ่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายไทย - พม่า ระยะทาง 415 กิโลเมตร ซึ่งทหารเชลยศึกส่วนมากมาเป็นชาวฮอลแลนด์ ชาวออสเตรีย และชาวอังกฤษ ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟจากทางทิศใต้ของเมืองทันบูซายัด (ประเทศพม่า) เพื่อเชื่อมต่อระหว่างทางรถไฟฝั่งไทย เส้นทางสายนี้ใช้เป็นเส้นทางขนส่งเสบียงอาหารและเชลยศึกไปยังประเทศพม่า กองทหารญี่ปุ่นกับกองทหารอังกฤษได้สู้รบกันโดยที่วิศวกรชาวญี่ปุ่นได้เลือกเส้นทางที่เป็นหุบเขาและภูเขาซึ่งถือว่าเป็น งานที่ลำบากมากสำหรับเหล่าเชลยศึก ที่ต้องก่อสร้างด้วยแรงมือ และสัตว์ (ช้าง) อีกทั้งไม่สามารถทำงานด้วยเครื่องจักร ในช่วงทางรถไฟระยะ 50 กิโลเมตร จากอำเภอn ด่านเจดีย์ ซึ่งปัจจุบันเป็นช่วงเขตผ่านแดนระหว่างไทย - พม่า อย่างไรก็ตามหลังสงครามโลกสงบลงทางรถไฟเส้นนี้ได้ถูกรื้อถอด เนื่องจากความไม่ปลอดภัยของการเดินทาง อีกทั้งการเมืองในช่วงนั้นไม่เปิดโอกาสสำหรับการเมือง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น